กสศ.รับ ม.6 รับทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เรียนจบบรรจุเป็น ขรก.ครู

Spread the love

กสศ.รับ ม.6 รับทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เรียนจบบรรจุเป็น ขรก.ครู

ลิงค์: https://ehenx.com/7137/ หรือ
เรื่อง:


กสศ.รับ ม.6 รับทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น เรียนจบบรรจุเป็น ขรก.ครู

ประกาศสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึษา เรื่องโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษา สำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน (โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น) ปีการศึกษา 2564

ด้วยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้จัดทำโครงการสร้างโอกาสทางการศึกษา สำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน (โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น) เพื่อให้ความช่วยเหลือเยาวชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนา รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ให้มีจิตวิญญาณของความเป็นครู มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกัน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาคทางการศึกษา โดยมีเป้าหมายในการผลิตและพัฒนาครูคุณภาพได้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล

อาศัยอำนาจตามความใน ข้อ ๗ และข้อ ๘ ของระเบียบกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบข้อมูลและการช่วยเหลือเด็กปฐมวัย เด็กและเยาวชนซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ผู้ด้อยโอกาส ครอบครัวที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และครูพ.ศ. ๒๕๖๑ ประกอบกับมติคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๓ ผู้จัดการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในประกาศนี้

โครงการ หมายถึง โครงการสร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นครูรุ่นใหม่เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน (โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ สถาบันการศึกษา หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่เปิดการสอนหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาประถมศึกษาหรือการศึกษาปฐมวัย และเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่หรือมีวิทยาเขตที่เปิดการสอน คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันกับที่ตั้งของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดไว้ให้ผู้รับทุนไปบรรจุแต่งตั้งหลังสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่โครงการกำหนด โดยการแบ่งภูมิภาคเป็นไปตามเกณฑ์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นักเรียนยากจน หมายถึง นักเรียนที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนซึ่งรายได้เฉลี่ยของสมาชิกในครัวเรือนไม่เกินเดือนละ ๓,๐๐๐ บาทต่อคน (นับรวมรายได้ของสมาชิกในครัวเรือนที่ทำงานต่างพื้นที่) โดย กสศ.
จะใช้หลักเกณฑ์การคัดกรองผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์จากระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจน ของ สพฐ. (Proxy Means Test : PMT) ประกอบการพิจารณาร่วมด้วย

ข้อ ๒ หลักการสำคัญของโครงการ

โครงการนี้ตั้งอยู่บนหลักการสำคัญ ๓ ประการ ได้แก่

  1. ส่งเสริมให้นักเรียนยากจนที่มีศักยภาพและมีจิตวิญญาณความเป็นครูได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีในคณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์อย่างมีคุณภาพ แล้วกลับไปเป็นครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลซึ่งเป็นท้องถิ่นของตนเอง และสามารถจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนได้ตามพื้นฐานและศักยภาพที่แตกต่างกันสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
  2. สนับสนุนให้โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลได้รับการพัฒนาและเกิดการยกระดับคุณภาพทักษะการเรียนรู้ร่วมกันของครูและผู้เรียนตั้งแต่เริ่มโครงการ
  3. สนับสนุนการปรับกระบวนการเรียนการสอนในสถาบันผลิตและพัฒนาครูซึ่งจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบการศึกษาของประเทศต่อไป

ข้อ ๓ เป้าประสงค์ของโครงการ

การดำเนินงานโครงการตามประกาศนี้ มีเป้าประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักเรียนยากจนที่มีศักยภาพ และมีจิตวิญญาณความเป็นครูได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในคณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์อย่างมีคุณภาพภายในระยะเวลา ๔ ปี มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แล้วได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นครูรุ่นใหม่ในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลระดับตำบลประมาณ ๓๐๐ แห่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาของท้องถิ่น เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และช่วยให้มีจำนวนครูเพียงพอต่อความต้องการลดปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียนหรือมีการโยกย้ายบ่อย รวมถึงเป็นการสนับสนุนให้สถาบันผลิตและพัฒนาครูออกแบบระบบการจัดการเรียนรู้ใหม่ มีความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนที่จะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนบทบาทของครูในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาให้สามารถผลิตและพัฒนาครูได้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่และความต้องการโดยรวมของประเทศ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นตามเป้าประสงค์นี้จะสามารถนำไปสู่การยกระดับคุณภาพและระบบการศึกษาของประเทศได้

ข้อ ๔ วัตถุประสงค์ของโครงการ

กสศ. ดำเนินโครงการเพื่อวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

  1. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตและพัฒนาครูรุ่นใหม่ที่มีคุณลักษณะตรงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และบรรจุครูในพื้นที่ได้สอดคล้องกับความต้องการของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล
  2. เพื่อบูรณาการให้เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานหลักในการผลิตและพัฒนาครูกับหน่วยงานที่ใช้ครู ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือก การจัดการเรียนการสอน กิจกรรมการพัฒนาทักษะวิชาชีพครู และการฝึกปฏิบัติงานในโรงเรียนและชุมชนตั้งแต่ต้นทางไปพร้อมกัน
  3. เพื่อปรับระบบการผลิตและพัฒนาครูให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างที่จำเป็นให้ตรงกับลักษณะงาน มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชนในพื้นที่ห่างไกล

ข้อ ๕ ชั้นตอนการดำเนินงานโครงการ

โครงการแบ่งกระบวนการดำเนินงานออกเป็น ๖ ขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้นตอนที่ ๑ การสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการ และเชิญชวนสถาบันการศึกษาต่างๆ ยื่นแบบเสนอเข้าร่วมโครงการ
  2. ขั้นตอนที่ ๒ คัดเลือกสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะคัดเลือกสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการตามเกณฑ์คุณภาพ ๗ ประเด็นหลัก โดยจะพิจารณาจากเอกสารแบบเสนอโครงการและการลงพื้นที่ศึกษาส ารวจและวิเคราะห์ข้อมูล
  3. ขั้นตอนที่ ๓ สถาบันการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ดำเนินการจัดทำข้อมูลร่วมกับโรงเรียนในระดับพื้นที่ เพื่อค้นหานักเรียนกลุ่มเป้าหมาย คัดกรอง และคัดเลือกนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่าร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นผู้รับทุนในโครงการและเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา
  4. ขั้นตอนที่ ๔ สถาบันการศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ เตรียมความพร้อมด้านวิชาการและสังคมให้แก่ผู้รับทุนก่อนเริ่มเข้าศึกษา และจัดการเรียนการสอนตามรายละเอียดที่เตรียมไว้สำหรับผู้รับทุนได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
  5. ขั้นตอนที่ ๕ การจัดให้มีกิจกรรมเสริมคุณภาพให้แก่ผู้รับทุน โดยความร่วมมือระหว่าง กสศ. และกับสถาบันการศึกษา เช่น การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ๆ การจัดกิจกรรมเสริมทักษะด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงานในอนาคต การดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้รับทุน และการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญหรือพี่เลี้ยงทางวิชาการ
  6. ขั้นตอนที่ ๖ การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

ข้อ ๖ คุณสมบัติของสถาบันการศึกษาที่มีสิทธิ์ส่งแบบเสนอโครงการ

ให้สถาบันการศึกษาที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้เป็นผู้มีสิทธิ์ส่งแบบเสนอเข้าร่วมโครงการ

  1. เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐหรือเอกชนที่เปิดสอนหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการศึกษาในคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาประถมศึกษาหรือการศึกษาปฐมวัยโดยหลักสูตรต้องผ่านการรับทราบจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรืออยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อพิจารณารับทราบ
  2. มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน และอาจารย์นิเทศที่มีคุณวุฒิประสบการณ์การทำงาน มีผลงานวิจัยตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษา และมีจำนวนเพียงพอสำหรับการจัดกลุ่มเรียนสูงสุด ๓๐ คน/สาขาวิชา/ชั้นปี
  3. สถาบันอุดมศึกษาหรือมีวิทยาเขตที่เปิดการสอน คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์ตั้งอยู่ในภูมิภาคเดียวกันกับที่ตั้งของโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่ สพฐ. กำหนดไว้ให้ผู้รับทุนไปบรรจุแต่งตั้งหลังสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรที่โครงการกำหนด โดยการแบ่งภูมิภาคเป็นไปตามเกณฑ์ของกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย
  4. สถาบันการศึกษามีความพร้อมด้านอาคารสถานที่ ห้องสมุด สื่อการเรียนรู้ และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ตามมาตรฐานและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนสำหรับผู้รับทุนได้อย่างมีคุณภาพในสถานที่ตั้งที่จัดการศึกษาให้กับผู้รับทุน
  5. สถาบันการศึกษามีหอพักสำหรับผู้รับทุนอย่างเพียงพอ มีระบบการดูแลที่ดี และเอื้อต่อการเรียนรู้ โดยสถาบันต้องเป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการระบบหอพัก พร้อมกับมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบดูแลนักศึกษาในหอพัก
  6. มีโรงเรียนเครือข่ายสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตามเกณฑ์มาตรฐานระบบประกันคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลเป็นเครือข่ายสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพโดยผู้บริหารและครูพี่เลี้ยงต้องมีความพร้อมให้ความดูแลช่วยเหลือผู้รับทุน

ข้อ ๗ การเข้าร่วมโครงการ

สถาบันการศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ ๖ และมีความประสงค์จะเข้าร่วมโครงการให้ยื่นแบบเสนอโครงการ (Proposal) ผ่านระบบออนไลน์ที่ www.EEF.or.th ภายในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓ แบบเสนอโครงการ (Proposal) ต้องแสดงแนวคิดและวิธีการดำเนินงานที่ชัดเจนตามหัวข้อสำคัญตามเกณฑ์คุณภาพ ๗ ประเด็นหลัก โดยมีข้อมูลและหลักฐานที่เชื่อถือได้ ในประเด็นดังต่อไปนี้

  1. ความพร้อมและความน่าเชื่อถือของสถาบันสถาบันการศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึง ความพร้อมด้านหลักสูตร ความเชี่ยวชาญของบุคลากรผู้สอนที่ตรงตามสาขาวิชา ความเชี่ยวชาญในการทำวิจัย การมีแหล่งเรียนรู้สำหรับฝึกประสบการณ์วิชาชีพการทำงานร่วมกับชุมชนท้องถิ่น มีเครือข่ายการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ บัณฑิตครูที่สำเร็จการศึกษาเป็นที่ยอมรับและเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตและชุมชนท้องถิ่น รวมถึงความพร้อมในการบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ของโครงการ
  2. การประชาสัมพันธ์ ค้นหา คัดกรอง และคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับทุนสถาบันการศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึง แนวทางการประชาสัมพันธ์ การสร้างความรู้ความเข้าใจเชิงรุกเกี่ยวกับโครงการ การศึกษาต่อในวิชาชีพครูการสร้างแรงจูงใจในการเข้าศึกษาตามหลักสูตรที่โครงการสนับสนุนทุนการศึกษา โดยมุ่งสื่อสารกับนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนในจังหวัดเขตพื้นที่บริการของสถาบันการศึกษา รวมทั้งต้องแสดงให้เห็นถึงกระบวนการ วิธีการ ในการค้นหาและคัดกรองนักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีคุณสมบัติในข้อ ๙ เพื่อให้สามารถคัดเลือกผู้รับทุนได้ตามเป้าหมายของโครงการ โดยกระบวนการค้นหา คัดกรอง และคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับทุนดังกล่าว ต้องยึดหลักการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และต้องแสดงให้เห็นมาตรการในการให้ความเป็นธรรม กรณีมีข้อทักท้วงเกี่ยวกับการค้นหา คัดกรอง และคัดเลือกนักเรียนเพื่อรับทุน
  3. การเตรียมความพร้อมแก่นักเรียนก่อนเข้าศึกษาสถาบันการศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึง แนวทางการเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนก่อนเข้าศึกษาใน ๒ ระยะ ดังนี้
    1. ระยะที่ ๑ สถาบันการศึกษาต้องเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายก่อนคัดเลือกเข้าศึกษา ตั้งแต่การแนะแนว การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารกับนักเรียน โรงเรียนผู้ปกครอง และชุมชนในจังหวัดพื้นที่เป้าหมายหรือเขตพื้นที่บริการวิชาการของสถาบันการศึกษา รวมถึงจัดให้มีกิจกรรมการเสริมทักษะที่จำเป็น การปรับพื้นความรู้ก่อนคัดเลือก และการสร้างแรงบันดาลใจความเป็นครู
    2. ระยะที่ ๒ สถาบันการศึกษาต้องเสนอแนวทางการเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนผู้รับทุนก่อนเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา เพื่อปรับพื้นฐานด้านวิชาการและเสริมทักษะที่จำเป็นในการปรับตัวทัศนคติ และการใช้ชีวิตอยู่ในสถาบันการศึกษาหรือสังคมแห่งใหม่ การทำงานเป็นทีม ความเข้าใจต่อวิชาชีพครูการสร้างแรงบันดาลใจและมุ่งมั่นในความเป็นครูผ่านการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
  4. หลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาผู้เรียนสถาบันการศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึง ความพร้อมในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน มีคุณภาพตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพชั้นสูง และสามารถผลิตบัณฑิตครูที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
    1. มีสมรรถนะพื้นฐานของวิชาชีพครูรวมถึงความสามารถในการจัดการเรียนการสอนได้หลากหลาย การสอนแบบบูรณาการหรือคละชั้นเรียน (Multi – grade classroom) การพัฒนานักเรียนที่มีศักยภาพต่างกัน มีสมรรถนะทางวิชาการ จิตวิญญาณความเป็นครู และคุณธรรมจริยธรรม
    2. มีสมรรถนะทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ (21st Century Skills) ที่เหมาะสม เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสารการคิดสร้างสรรค์ การใช้เทคโนโลยี การพัฒนาทักษะที่เชื่อมโยงกับการทำงาน และการเรียนรู้พหุวัฒนธรรม
    3. มีเจตคติและสมรรถนะเฉพาะ สำหรับการกลับไปปฏิบัติงานในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล เช่น ความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชน ความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ความอดทนต่อสภาพยากลำบากการใช้ชีวิตพอเพียง และการปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น รวมถึงมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้จากการเชื่อมโยงความรู้เชิงทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง เพื่อใช้ประโยชน์ในโรงเรียนที่จะไปบรรจุและแต่งตั้งหลังสำเร็จการศึกษาและชุมชนบ้านเกิดของตนเองทั้งนี้ การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน สถาบันการศึกษาต้องแสดงให้เห็นว่าสามารถดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่ผู้เรียน ดังนี้
      1. ขนาดกลุ่มเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามมาตรฐานที่คุรุสภากำหนดไว้ประมาณห้องละ 25 – 30 คน
      2. มีกระบวนการหรือกิจกรรมเสริมที่มากกว่าหลักสูตรปกติ และวางแนวทางไว้สำหรับนักศึกษาแต่ละชั้นปีอย่างชัดเจน
      3. มีการเน้นวิธีการสอนแบบบูรณาการหรือการสอนแบบคละชั้นเรียน
      4. มีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา ให้การสนับสนุนอย่างทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ
      5. มีกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการนิเทศติดตามนักศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาจากคุรุสภา
      6. มีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับสาขาวิชาที่เรียน
      7. มีแนวทางและกลไกในการติดตามผู้รับทุนหลังสำเร็จการศึกษาเพื่อสร้างความต่อเนื่องทางวิชาการ และเพิ่มพูนทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องอีก ๖ ปี นอกจากนี้ สถาบันการศึกษา ต้องแสดงให้เห็นศักยภาพและความพร้อมที่จะสร้างกลไกการทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยเป็นการทำงานร่วมกับหน่วยงานยุทธศาสตร์สำคัญทั้งในส่วนกลางและท้องถิ่น
  5. การจัดระบบดูแลและช่วยเหลือนักศึกษาผู้รับทุนสถาบันการศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึง แนวทางและกลไกในการดูแลความเป็นอยู่และสวัสดิภาพของผู้รับทุน โดยครอบคลุมทั้งด้านสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ สวัสดิภาพด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม รวมถึงการจัดระบบหอพัก ระบบอาจารย์พี่เลี้ยง ระบบการให้คำปรึกษา การสื่อสารอย่างใกล้ชิดกับ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองตลอดระยะเวลาของการศึกษา การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ทักษะชีวิต ทักษะสังคมและการกำหนดมาตรการในการดูแลและป้องกันปัญหาที่อาจส่งผลให้ผู้รับทุนเรียนไม่จบตามหลักสูตร รวมถึงปัญหาในมิติอื่น ๆ ด้วย
  6. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ (Enrichment program) สถาบันการศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึง แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การมีระบบฝึกปฏิบัติการจริงในบริบทพื้นที่ห่างไกลอย่างสม่ าเสมอ เพื่อให้ผู้รับทุนมีโอกาสฝึกปฏิบัติงานสอนร่วมกับครูพี่เลี้ยง การเพิ่มเติมรายวิชาจำเป็นนอกเหนือจากสาขาวิชาเอก การปฏิบัติงานเป็นทีม และกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ในพื้นที่ การอบรมด้านภาษาต่างประเทศ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือการศึกษาดูงาน เป็นต้นรวมถึงการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ต่าง ๆ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบัน และการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้รับทุนรักถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง และมีทักษะในการพัฒนาชุมชน เช่น การร่วมกิจกรรมของชุมชนการศึกษาวิจัยชุมชนในช่วงปิดภาคเรียน เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ควรจัดขึ้นทุกปีการศึกษา
  7. การจัดทำข้อมูลและการเข้าร่วมพัฒนาทางวิชาการสถาบันการศึกษาต้องแสดงให้เห็นถึง แนวทางการจัดทำฐานข้อมูลผู้รับทุน ฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ ฐานข้อมูลเพื่อการติดตามประเมินผู้รับทุน ทั้งด้านการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และพฤติกรรมเป็นรายบุคคล เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และใช้ประโยชน์ร่วมกัน การพัฒนากระบวนการทำงานในอนาคตร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการในรูปแบบต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาเครือข่ายหรือ กระบวนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)

ข้อ ๘ การพิจารณาแบบเสนอโครงการ

กสศ. จะแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อพิจารณาคัดเลือกแบบเสนอโครงการ โดยพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลและหลักฐานตามที่สถาบันการศึกษาเสนอและตัดสินคัดเลือกสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการ ตามเกณฑ์คุณภาพในข้อ ๗ และในการพิจารณาคัดเลือกสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอาจลงพื้นที่เพื่อรับฟังการนำเสนอแนวทางการดำเนินงานโครงการ รวมถึงการสืบค้นข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาทั้งนี้ กสศ. จะได้มีการพิจารณาเปรียบเทียบคุณภาพแบบเสนอโครงการ และคัดเลือกแบบเสนอโครงการของสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพสูงสุด ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณที่เหมาะสมผลการพิจารณาแบบเสนอโครงการของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่กสศ. แต่งตั้งให้ถือเป็นที่สุด

ข้อ ๙ คุณสมบัติของผู้ขอรับทุน

ผู้ขอรับทุนต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
  2. เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือเทียบเท่าในปีการศึกษา ๒๕๖๓
  3. เป็นนักเรียนยากจนตามความหมายในประกาศนี้
  4. เป็นผู้ที่บิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครองและผู้ขอรับทุน มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตำบล ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลที่ผู้รับทุนจะไปบรรจุและแต่งตั้งหลังสำเร็จการศึกษา ตามบัญชีรายชื่อท้ายประกาศนี้ไม่น้อยกว่า ๓ ปีติดต่อกันจนถึงวันสมัคร
  5. เป็นผู้ที่มีผลการเรียนสะสมเฉลี่ย ๕ ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่ต่ ากว่า ๒.๕๐
  6. เป็นผู้มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครูและมีความประสงค์จะเป็นครูในพื้นที่ห่างไกลซึ่งเป็นท้องถิ่นของตน
  7. เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่วนรวม
  8. เป็นผู้ที่มีความประพฤติดีไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงที่จะเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในระหว่างรับทุน
  9. เป็นผู้ที่ไม่มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี

ข้อ ๑๐ การคัดเลือกผู้รับทุน

ให้สถาบันการศึกษาที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ เป็นผู้รับผิดชอบในการคัดเลือกผู้รับทุนที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ ๙ ดังนี้

  1. กสศ. จะจัดส่งข้อมูลให้สถาบันการศึกษาใช้ในการคัดเลือกผู้รับทุนดังรายการ ต่อไปนี้
    1. รายชื่อโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลที่ผู้รับทุนจะไปบรรจุและแต่งตั้งหลังสำเร็จการศึกษา ตามบัญชีรายชื่อท้ายประกาศนี้ เพื่อประกอบการวางแผนคัดเลือกผู้รับทุน
    2. รายชื่อโรงเรียนในเขตตำบลซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนตาม ๑) และมีนักเรียนยากจนกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ทั้งนี้ กสศ. จะแจ้งเกณฑ์การคัดกรองระบบปัจจัยพื้นฐานนักเรียนยากจนของ สพฐ. ให้กับสถาบันการศึกษาเมื่อได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการแล้ว
  2. การคัดเลือกผู้รับทุนจะต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบทุกขั้นตอน โดยยึดหลักความถูกต้อง ความเป็นธรรม การมีส่วนร่วม และความโปร่งใสอย่างเคร่งครัด โดยสถาบันการศึกษาต้องจัดให้มีคณะทำงานและบุคลากรรับผิดชอบโดยตรง เพื่อประสานงาน จัดทำข้อมูลโรงเรียนและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายตลอดจนวางแผนและคัดเลือกผู้รับทุนร่วมกับหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
  3. ให้สถาบันการศึกษา ประกาศรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้รับทุนโครงการให้ทราบเป็นการทั่วไปและรับฟังคำคัดค้าน เป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วันทำการ ทั้ง ณ ที่ทำการและในระบบสารสนเทศของสถาบันการศึกษาในกรณีที่มีการทักท้วงหรือมีการคัดค้านใด ๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกผู้รับทุน ให้สถาบันการศึกษาพิจารณาวินิจฉัยข้อทักท้วงนั้น ด้วยกระบวนการที่เป็นธรรม และแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและ กสศ.ทราบ
  4. เมื่อดำเนินการตาม ๑๐.๑ – ๑๐.๓ แล้ว ให้สถาบันการศึกษาส่งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกไปยังกสศ. ในการนี้ กสศ. อาจจัดให้มีการสุ่มตรวจคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้รับทุนได้
  5. ให้สถาบันการศึกษาจัดเก็บข้อมูลผู้ได้รับการคัดเลือกอย่างเป็นระบบ และพร้อมรับการตรวจสอบ โดยจะต้องมีผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับรองเอกสารในส่วนที่เกี่ยวข้องทุกรายการ

ข้อ ๑๑ เงื่อนไขการรับทุน

เมื่อผู้รับทุนสำเร็จการศึกษาตามโครงการแล้ว จะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลซึ่งเป็นท้องถิ่นที่เป็นภูมิลำเนาของตน ตามความต้องการของทางราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๖ ปี ในกรณีที่ผู้รับทุนยุติการศึกษา หรือศึกษาไม่จบตามหลักสูตรที่โครงการกำหนด หรือเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วไม่ปฏิบัติหน้าที่ครูในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกลครบตามกำหนดเวลาข้างต้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรผู้รับทุนต้องชดใช้เงินทุนตามจำนวนที่ได้รับไป โดยปรับลดสัดส่วนลงตามระยะเวลาที่ปฏิบัติราชการไปแล้ว ทั้งนี้ กสศ. จะกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวไว้ในสัญญาผู้รับทุนต่อไป

ข้อ ๑๒ การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ

กสศ. จะให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ ดังนี้

  1. สนับสนุนงบประมาณสำหรับสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการ ดังนี้
    1. การจัดทำฐานข้อมูลและกระบวนการคัดกรอง/คัดเลือกนักเรียนในพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้ได้ผู้รับทุน ตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรจาก กสศ. โดยส ารองรายชื่อผู้รับทุนไว้ร้อยละ ๕๐ของจำนวนผู้รับทุนที่ได้รับจัดสรร
    2. การเตรียมความพร้อมนักเรียนกลุ่มเป้าหมายก่อนคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา
    3. การเตรียมความพร้อมและปรับพื้นฐานวิชาการให้แก่ผู้รับทุนก่อนเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษา
    4. การจัดโครงการพัฒนาระบบการดูแล ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาผู้รับทุน
    5. การจัดโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน
    6. การจัดโครงการพัฒนาการทำงานร่วมกับแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพและครูพี่เลี้ยงในพื้นที่ ทั้งนี้ การสนับสนุนงบประมาณตาม (๑) – (๖) กสศ. จะแจ้งให้ทราบเมื่อสถาบันการศึกษาได้รับ การคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการแล้ว
  2. สนับสนุนงบประมาณให้สถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อดำเนินการเบิกจ่ายให้แก่ผู้รับทุน ดังนี้
    1. ค่าธรรมเนียมการศึกษา จำนวน ๓๐,๐๐๐ บาท/คน/ปี
    2. ค่าที่พัก จำนวน ๒,๐๐๐ บาท/คน/เดือน
    3. ค่าครองชีพ จำนวน ๖,๐๐๐ บาท/คน/เดือน
    4. ค่าต าราและอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็น จำนวน ๒,๐๐๐ บาท/คน/เดือน
  3. สนับสนุนการปรับปรุงหลักสูตร หรือการจัดเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ โดยมุ่งหวังให้ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบการศึกษาของประเทศได้
  4. สนับสนุนให้มีผู้เชี่ยวชาญเป็นพี่เลี้ยงทางวิชาการ การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับพื้นที่และระดับชาติ จัดกิจกรรมเสริมคุณภาพให้แก่ผู้รับทุน จัดให้มีการประชุมติดตามความก้าวหน้าโดยคณะอนุกรรมการกำกับทิศทาง ผู้ทรงคุณวุฒิและการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการเป็นระยะในแต่ละปีการศึกษา
  5. สนับสนุนให้ผู้รับทุนที่มีศักยภาพสูงเข้าร่วมเวทีทางวิชาการ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
  6. สนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางไกลจากต่างประเทศที่มีบริบทหรือสภาพปัญหาคล้ายกันมาเป็นแนวทางการศึกษาใหม่ๆ โดยอาจจัดโปรแกรมแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันกับประเทศที่น่าสนใจ เช่น การสอนในโรงเรียนขนาดเล็กของฟินแลนด์ หรือนิวซีแลนด์ เป็นต้น
  7. จัดระบบการสนับสนุน ติดตาม ประเมินผล และวิจัยเพื่อให้ได้องค์ความรู้และหนุนเสริมการทำงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น
    1. การติดตามความก้าวหน้าโดยคณะอนุกรรมการกำกับทิศทาง
    2. การสนับสนุนการทำงานทางวิชาการของอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง
    3. การวิจัยประเมินผลความสำเร็จการดำเนินงานโครงการทุกปีการศึกษา

ข้อ ๑๓ กำหนดเวลาการคัดเลือกสถาบันการศึกษาเข้าร่วมโครงการ

  1. เปิดรับแบบเสนอโครงการ ตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ถึง ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๓
  2. พิจารณาแบบเสนอโครงการโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ระหว่างเดือนมิถุนายน ๒๕๖๓ ถึง เดือนสิงหาคม ๒๕๖๓
  3. ประกาศผลการพิจารณาสถาบันการศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก และลงนามข้อตกลงระหว่างสถาบันการศึกษาที่ผ่านการคัดเลือก กับ กสศ. ในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๓
  4. ประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมสถาบันการศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๓

ข้อ ๑๔ แบบเสนอโครงการ (Proposal) ของสถาบันการศึกษาให้ใช้แบบตามท้ายประกาศนี้ โดยยื่นผ่านระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์www.EEF.or.th

ข้อ ๑๕ ในกรณีมีปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามประกาศนี้กสศ.ขอสงวนสิทธิ์เป็นผู้วินิจฉัย ชี้ขาด และคำวินิจฉัยนั้นถือเป็นที่สุด

ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

(นายสุภกร บัวสาย)
ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

Facebook Comments

About งานราชการ

View all posts by งานราชการ →