1. หลักธรรมตามกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งผู้พิพากษายึดถือเป็นหลักนำมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น เรียกว่า
ก. อินทภาษ ข. ฉันทาคติ
ค. อิทธิบาท 4 ง. หลักทศพิษราชธรรม
ตอบ ก. อินทภาษ
หลักธรรมที่เรียกว่า “อินทภาษ” เป็นหลักธรรมตามกฎหมายตราสามดวง ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งผู้พิพากษายึดถือเป็นหลักนำมาใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งหลักธรรมอินทภาษ ได้แก่
1. ฉันทะหรือฉันทาคติ คือ ความรักใคร่พอใจ
2. โทสะหรือโทสาคติ คือ ความโกรธ พยาบาท จองเวร อาฆาต
3. ไภยะหรือภยาคติ คือ ความรู้สึกหวาดกลัวหรือหวั่นไหว
4. โมหะหรือโมหาคติ คือ ความหลงไหล มืดมัว
2. ข้อใดเป็นการประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บังคับบัญชา
ก. มีไมตรีจิต ข. เป็นคนสุจริต
ค. สนับสนุนและยกย่องคนดี ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
สำหรับการประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บังคับบัญชามี 10 ข้อ ดังนี้
1. เป็นคนสุจริต และไม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตอย่างเด็ดขาด โดยควรละความชั่ว หรือบริหารจัดการหรือปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และพยายามแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนอย่างต่อเนื่อง เช่น ไม่เรียกร้องหรือรับทรัพย์สินเงินทอง รับส่วย รับผลประโยชน์ตอบแทนในทางมิชอบ และไม่ปกป้องคุ้มครองช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชาที่ทุจริต
2. เสียสละประโยชน์และความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
3. ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อย่างภาคภูมิใจ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และมีจรรยาบรรณ โดยควรระลึกและปฏิบัติในลักษณะที่ว่า เกียรติมาก่อน (honor comes first) เงินหรือผลประโยชน์ในทางมิชอบ
4. มีไมตรีจิต (courtesy) ซึ่งครอบคลุมถึงการมีมารยาท ความสุภาพ ความเอื้อเฟื้อ มีอัธยาศัย และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
5. ทำตัวให้เป็นที่ยอมรับ (respect) หรือให้ได้รับความศรัทธาจากประชาชน
6. เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ และรู้จักพอ
7. สนับสนุนและยกย่องคนดี พร้อมทั้งดำเนินการกับคนไม่ดี เช่น ไม่ยกย่องนินทา และประณาม
8. มีความเป็นผู้เชี่ยวชาญ และนำหลักวิชาการมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการ และในการประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดี
9. ปฏิบัติราชการในลักษณะที่แสดงถึงความเป็นมืออาชีพ (professionalism) ซึ่งหมายถึง รู้จริง มีความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ และสามารถปฏิบัติงานเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพจริงและชัดเจน
10. มิใช่เป็นเพียงผู้นำในการบริหารงานเท่านั้น แต่ควรเป็นผู้นำที่มีภาวะผู้นำสูงกล้าที่จะเป็นผู้นำ และกล้าที่จะตัดสินใจพัฒนาจริยธรรมของข้าราชการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เช่นนี้สอดคล้องกับข้อความที่ว่า A leader without leadership is not leader
3. ข้อใดไม่ใช่หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. หลักนิติธรรม ข. หลักจริยธรรม
ค. หลักความมีส่วนร่วม ง. หลักความคุ้มค่า
ตอบ ข. หลักจริยธรรม
หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่ประกอบด้วย 6 หลัก ได้แก่
1.หลักนิติธรรม (rule of law)
2.หลักคุณธรรม (ethics)
3.หลักความโปร่งใส (transparency)
4.หลักความมีส่วนร่วม (participation)
5.หลักความรับผิดชอบ (accountability)
6.หลักความคุ้มค่า (value for money)
4. ระเบียบฯ ว่าด้วยงานสารบรรณ ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่เป็นฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.ใด
ก. พ.ศ.2526 ข. ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2535
ค. ฉบับที่ 2 พ.ศ.2548 ง. ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2550
ตอบ ค. ฉบับที่ 2 พ.ศ.2548
ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตริ ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548” (ข้อ 1 ระเบียบฯ งานสารบรรณ)
5. ระเบียบฯ ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 2) ประกาศใช้เมื่อใด
ก. ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค. 7 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ง. 30 วันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ตอบ ข. ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ข้อ 2 ระเบียบฯ งานสารบรรณ)
6. ระเบียบฯ ว่าด้วยงานสารบรรณ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) มีผลบังคับใช้เมื่อใด
ก. 1 มิถุนายน พ.ศ. 2526 ข. 21 มิถุนายน พ.ศ. 2548
ค. 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ง. 28 มิถุนายน พ.ศ. 2548
ตอบ ค. 22 มิถุนายน พ.ศ. 2548
ระเบียบฯ ว่าด้วยงานสารบรรณ ฉบับที่ 2 ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2548 และจากข้อ 2. มีผลบังคับใช้ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
7. ข้อใด หมายถึง งานสารบรรณ
ก. การรับ-ส่ง ข. การยืม
ค. การเก็บรักษา ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
งานสารบรรณ หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การ
จัดทำการรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย (ข้อ 6 ระเบียบฯ งานสารบรรณ)
8. ในระเบียบฯ ว่าด้วยงานสารบรรณ คำว่า “หนังสือ” หมายถึงข้อใด
ก. หนังสือภายใน ข. หนังสือภายนอก
ค. หนังสือราชการ ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ค. หนังสือราชการ
หนังสือ หมายความว่า หนังสือราชการ (ข้อ 6 ระเบียบฯ งานสารบรรณ)
9. ผู้รักษาการในระเบียบฯ ว่าด้วยงานสารบรรณ ฉบับปัจจุบันคือใคร
ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ข. นายกรัฐมนตรี
ค. ปลัดกระทรวงการคลัง ง. คณะรัฐมนตรี
ตอบ ก. ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้ (ข้อ 8 ระเบียบฯ งานสารบรรณ)
10. ข้อใดมิใช่ความหมายของหนังสือราชการ
ก. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
ข. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นที่มิใช่ส่วนราชการ
ค. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานในราชการ
ง. หนังสือที่มีขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อบุคคลภายนอก
ตอบ ง. หนังสือที่มีขึ้นเพื่อใช้ในการติดต่อบุคคลภายนอก
หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่
1. หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วน
ราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับ
(ข้อ 9 ระเบียบฯ งานสารบรรณ)
11. “หนังสือภายนอก” หมายถึงข้อใด
ก. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธี, ใช้กระดาษบันทึก
ข. หนังสือติดต่อราชการทำเป็นแบบพิธี, ใช้กระดาษตราครุฑ
ค. หนังสือที่ใช้ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม , ใช้กระดาษบันทึก
ง. หนังสือที่ใช้ติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม, ใช้กระดาษตราครุฑ
ตอบ ข. หนังสือติดต่อราชการทำเป็นแบบพิธี, ใช้กระดาษตราครุฑ
หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก (ข้อ 11 ระเบียบฯ งานสารบรรณ)
cr:sheetram
Facebook Comments